วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556
แมวศุภลักษณ์
ลักษณะประจำพันธุ์ : ของแมวศุภลักษณ์ ในสายตาฝรั่งแล้วเข้าใจว่าแมวทองแดงเป็นแมวพม่า เนื่องจากปี พ.ศ. 2473 ดร. โจเซฟ ซี ทอมสัน ชาวอเมริกัน ได้นำแมวตัวเมียสีน้ำตาลจากประเทศพม่ากลับไปที่ซานฟรานซิสโก แล้วนำไปจดทะเบียน ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งชื่อว่า Burmese Cat หรือแมวพม่า นั่นเองและ เป็นแมวพันธุ์หนึ่งที่มีคนเลี้ยงกัน มากที่สุดในโลก แต่ในสายตาคนไทย ถือว่าแมวทองแดงเป็นแมวไทย เนื่องจากโครงสร้าง และลักษณะนิสัย เป็นแบบฉบับแมวไทย มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาแตกนั้น พม่าได้กวาดต้อนคนไทยจำนวนหนึ่งไปเป็นเชลยศึกที่พม่าและมีแมวทองแดงตามเจ้าของเข้าสู่เขตแดนพม่าด้วย เนื่องจากเป็นแมวชั้นสูงเช่นเดียวกับแมวไทยพันธุ์อื่นๆ พวกขุนนาง พม่า จึงนิยมเลี้ยงกัน พอพวกฝรั่งไปพบเข้าจึงเรียกเป็นแมวพม่าไป แมวทองแดงมีรูปร่างขนาดกลาง สง่า น้ำหนักตัวพอประมาณ ขายาวเรียว ฝ่าเท้าอวบ ศีรษะค่อนข้างกลมกว้าง สีขนออกสีน้ำตาลเข้ม คล้ายสีสนิม (สีทองแดง) แต่จะมีสีเข้มมาก ขึ้นบริเวณส่วนหูและในหน้า นัยน์ตาสีเหลืองอำพัน เป็นแมวที่มีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ อยากรู้อยากเห็น ชอบผจญภัย รักอิสระเสรีเหนืออื่นใด ชอบสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัว กับคนแปลกหน้าแล้วมันดูจะเป็นแมวที่ร้ายพอสมควร ปัจจุบันเมืองไทย หายากมาก แต่มีทั่วไปในอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งเขาได้พัฒนาผสมพันธุ์กัน จนได้แมวในลักษณะ และสีอื่นๆ มากมาย
แมวโกญจา
ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีดำตลอดทั้งตัว
ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวกลมไม่ใหญ่มาก หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
ลักษณะของนัยน์ตา : นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม (สีเหลืองอมเขียว)
ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์ : ขนยาวมากเกินไป ขนมีสีอื่นปะปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
แมวสีสวาด (Silver blue) หรือแมวโคราช (Korat cat)
ลักษณะประจำพันธุ์ : ของแมวสีสวาด แมวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ คือ แมวโคราช แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา แมวโคราช
เป็นแมวที่พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือเรารู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อย (Smud Khoi of Cats) ที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมวมีเรื่องเล่ามากมายหรือเป็นตำนานเล่าขาน
เกี่ยวกับแมวโคราช รวมถึงตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงการที่แมวโคราชมีหางหงิกงอ (kinks) มากเท่าไหร่จะมีโชคลาภมากเท่านั้น (แม้ว่าลักษณะหางหงิกงอไม่ใช่มาตรฐานพันธุ์ตากหลักของ CFA ก็ตาม) แต่คนไทยจะเรียกแมวโคราชอีกชื่อว่า แมวสีสวาด (Si-Sawat cat (see-sa-what)), แต่คนไทยบางกลุ่มจะเรียกแมวโคราชว่า แมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา (Dok Lao) จึงเรียกแมวสีดอกเลา โดยจะต้องมีขนเรียบ ที่โคนขนจะมีสีขุ่นๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว (dewdrops on the lotus leaf) หรือเหมือนคนผมหงอก แมวโคราชได้ถูกนำไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริการโดย Cedar Glen Cattery ในรัฐโอเรกอน โดยได้รับมาจากพี่น้องชื่อ นารา (Nara) และ ดารา (Darra) ในวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ.2502) ประมาณเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2509 นักผสมพันธุ์แมวโคราชและแมวไทย (วิเชียรมาศ) ชาวรัฐแมรีแลนด์ ได้นำแมวโคราชประกวดในงานประจำปีและ ได้รับรางวัลชนะเลิศและเป็นที่รู้จัก
ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีสวาด (silver blue) ทั่วทั้งตัวและเป็นสีสวาดตั้งแต่เกิดจนตาย
ลักษณะของส่วนหัว : หัวเมื่อดูจากด้านหน้าจะเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ในแมวตัวผู้หน้าผากมีรอยหยักทำให้เป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น หูใหญ่ตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปากสีเงิน หรือม่วงอ่อน
ลักษณะของนัยน์ตา : นัยน์ตาสีเขียวสดใสเป็นประกาย หรือสีเหลืองอำพัน ขณะยังเป็นลูกแมวตาจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และเมื่อเติบโตเต็มที่ตาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวใบไม้ หรือสีเหลืองอำพัน
ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์ : ขนยาวเกินไป มีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
story5:แมวพันธุ์วิเชียรมาศ หรือแมวสยาม
แมวพันธุ์วิเชียรมาศ หรือแมวสยาม
ลักษณะประจำพันธุ์ : แมววิเชียรมาศเป็นแมวที่ชาวต่างประเทศที่รู้จักกันในนามแมวสยาม (Siamese) โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตั้งแต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และเป็นที่รู้จักกันในแถบสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ลักษณะที่จำเพาะของแมววิเชียรมาศ คือ สีน้ำตาล
ลักษณะสีขน : ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด)
ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวไม่กลม หรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
ลักษณะของนัยน์ตา : นัยน์ตาสีฟ้า
ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์ : ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) ของขอด หางหงิกงอ หางสดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
story4:สก็อตทิช โฟลด์(Scottish Fold)
สก็อตทิช โฟลด์(Scottish Fold) เป็นแมวที่มีถิ่นกำเนิดมาจากสกอตแลนด์ เป็นแมว
ขนาดกลาง ศีรษะกลม หูพับหรือตั้ง บางตัวหูจะพับเพียงครึ่งเดียว พับ 2 ส่วนหรือพับ 3 ส่วน จะมีทั้งขนสั้นและขนยาว ลักษณะของหัวเพศผู้จะมีลักษณะกลมโตกว่าหัวของตัวเมีย สำหรับอุปนิสัยจัดเป็นแมวที่มีความสุภาพ เรียบร้อย ไม่ซนอารมณ์ดี ขี้เล่น มีความกระตือรือร้น ชอบคลอเคลีย, ขี้อ้อนและขี้ประจบเจ้าของ
story4:Ashera
Ashera มีการผสมแมวพันธุ์ใหม่Asheraออกขาย ในราคาแพงลิบลิ่ว Ashera ราคาตัวละ
เจ็ดแสนกว่า เมื่อคุณสั่งซื้อและจ่ายเงินเรียบร้อย ก็ต้องรอเขาผสม และส่งให้ ในเวลา 9 ถึง 12 เดือน หากต้องการเร็วเขาก็จะลัดคิวให้ แต่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก เกือบ 2 แสน เขาก็จะส่งถึงบ้านเลย สรุปแล้วตัวละเกือบล้านทีเดียว ทางผู้ผสมพันธุ์เขาตั้งเป้าไว้ แค่ปีละ 100 ตัวทั่วโลก แต่ให้เฉพาะในอเมริกาก็ 50 ตัวแล้ว ที่เหลือ เศรษฐีประเทศต่างๆต้องแย่งกันเอาเอง
story3:เปอร์เซียน (Persian)
เปอร์เซียน (Persian) เปอร์เซียน เป็นแมวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเปอร์เซีย หรืออิหร่าน
ถูกนำไปเลี้ยง ในประเทศต่าง ๆ ทั้งใน ยุโรปและอเมริกาเป็นเวลาเกือบร้อยปีมาแล้ว สำหรับประเทศไทยจัดเป็นแมวต่างประเทศ พันธุ์แรกที่ถูกนำมาเผยแพร่ เนื่องจากเป็นแมวที่มีอุปนิสัยอ่อนโยน สุขุมเข้ากับคนง่าย มี ความร่าเริงซุกซน ชอบประจบประแจงและมีไหวพริบ
story3: แร็กดอลล์ (Ragdoll )
แร็กดอลล์ (Ragdoll ) แร็กดอลล์มีลักษณะเหมือนตุ๊กตาผ้า เวลาอุ้มขึ้นมาก็ทำตัวอ่อนเหมือน
ไม่มีกระดูก ขนบริเวณเอวแน่นฟู ที่สำคัญ แมวพันธุ์นี้คล้ายกับสวมถุงเท้าด้วยบริเวณเท้าจะด่างขาวดูเหมือนกับใส่ถุงเท้าอยู่ มีเสียงร้องที่เบามาก และเป็นแมวที่ชอบความเงียบ
story2: อเมริกันขนสั้น (อังกฤษ: American Short Hair)
อเมริกันขนสั้น (อังกฤษ: American Short Hair) พันธุ์อเมริกันขนสั้น
(อังกฤษ: American Short Hair) เป็นแมวที่ถูกนำมาจากยุโรปไปสู่แผ่นดินอเมริกาเหนือ
เมื่อครั้งมีการโยกย้ายถิ่นฐานของคนยุโรปไปแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ แมวถูกนำลงเรือไปเพราะต้องการใช้ประโยชน์จากมันในการล่าหนูมิให้ทำลายข้าวของซึ่งที่นำไปด้วยนั้นมีหลายตัว และได้ผสมพันธุ์กันจนได้ลูกที่มีลักษณะเฉพาะออกมาให้เห็นอย่างปัจจุบัน เป็นแมวที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ โครงสร้างลำตัวใหญ่โต มีกล้ามเนื้อแข็งแรงเห็นชัดเจน อกใหญ่ ขาใหญ่ ยาวขนาดปานกลาง ใบหูขนาดกลางและขอบเป็นทรงกลมมน หัวรูปไข่แต่มีคางที่ค่อนข้างใหญ่ชัดเจน ดวงตาแมวพันธุ์นี้กลมโต ขอบตาด้านนอกด้านบนจะโค้งลงมา สีของตาเป็นสีเขียว
story1: ขาวมณี (ขาวปลอด)
แมว ขาวมณี (ขาวปลอด) เป็นแมวไทยพันธุ์แท้ดั้งเดิมที่หลงเหลืออยู่มากที่สุดในปัจจุบัน แม้แมวพันธุ์นี้จะไม่ได้ถูกบันทึกในสมุดข่อยโบราณ แต่สามารถหาหลักฐานได้ตามจิตรกรรมฝาผนังในวัดต่าง ๆ ในเขต ธนบุรี เช่น ในอุโบสถวัดทองนพคุณ
แมวขาวมณีเป็นแมวที่สวยงามมาก มีขนาดปานกลาง ขนสีขาวแน่นอ่อนนุ่ม พันธุ์แท้ต้องมีสีขาวปลอดทั้งตัว ศีรษะคล้ายรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่แบน หูใหญ่ตั้งสูงเด่น หางยาวปลายแหลมชี้ตรง ขายาวเรียวได้ส่วนกับลำตัว
ดวงตามี 2 สี คือ สีฟ้า หรือ สีเหลืองอำพัน เมื่อเอาแมวขาวปลอด ตาสีฟ้าผสมกับแมวขาวปลอด ตาสีเหลืองอำพัน ลูกผสมที่ออกมาจะมีนัยตา 2 สี คือ ข้างหนึ่งตาสีฟ้า อีกข้างตาสีเหลืองอำพันเรียกกันว่า ODD EYES นิยมเลี้ยงเป็นคู่ เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน ถ้าลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่จะเชื่องมาก เหมาะที่จะเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)